พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระลือหน้ามงคล ...
พระลือหน้ามงคล ลำพูน
ปัจจุบันนี้ ผู้คนที่นิยมสะสมพระเครื่อง ได้หันมาให้ความสนใจในพระกรุกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพระกรุนั้นมีความงดงามทางศิลปะ รวมทั้งอายุการสร้าง ที่มีมาอย่างยาวนานและมีความเป็นมาที่น่าสนใจอันเกี่ยวโยงกับประวัติศาตร์ทางศิลปะของบ้านเมืองและการพระศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกรุของพระชุดสกุลลำพูน แม้ว่าในปัจจุบันนี้เกือบจะกลายเป็นพระกรุที่หายาก และมีราคาที่ค่อนข้างสูงแล้วก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่า เรื่องราวของพระกรุต่างๆในชุดสกุลลำพูนยังมีอีกมากที่มีผู้ให้ข้อมูลต่างๆที่ผิดไม่ตรงกับความเป็นจริง และมีอีกหลายแบบหลายอย่างที่ไม่ได้นำออกมาเสนอให้ท่านผู้อ่านและท่านที่สนใจได้รู้ได้เห็น จึงมีความตั้งใจที่จะนำเอาสิ่งเหล่านั้นออกมาเผยแพร่ให้ได้รู้ พร้อมกับคำอธิบายในรายละเอียดต่างๆให้ได้รู้และเข้าใจกันอย่างดี ในครั้งนี้จะนำเสนอเรื่องของพระกรุ ที่เรียกกันว่า “พระลือหน้ามงคล”

พระลือหน้ามงคลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “พระลือหน้ามงคลกรุวัดประตูลี้” ซึ่งรวมทั้ง “พระลือหน้ามงคลกรุกู่เหล็ก” ซึ่งบริเวณวัดทั้งสองอยู่ไม่ห่างกันมากนัก “กู่เหล็ก” เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของทุ่งกู่ล้าน ที่เคยเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันได้กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร โรงเรียนและบ้านคนไปแล้ว วัดประตูลี้และกู่เหล็กตั้งอยู่ในโซนทิศใต้ ไม่ห่างไกลกันมากนัก ความสำคัญของวัดประตูลี้ก็คือ เป็นวัดหนึ่งในสี่ของวัดสี่มุมเมือง ที่พระนางจามเทวีได้โปรดให้สร้างขึ้น ในยุคแรก ของการเข้ามาปกครองเมืองหริภุญไชย ส่วนกู่เหล็กในเวลานั้นคงจะเป็นวัดที่อยู่ในชุมชนใหญ่ที่มี “พระยาแขนเหล็ก” นายทหารเอกของพระนางจามเทวีเป็นหัวหน้าอาศัยอยู่ วัดทั้งสองแห่งนี้จึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันเลยการขุดพบของต่างๆ ที่เป็นศิลปะวัตถุ ในที่แห่งนี้จึงมีมากมาย หลายรูปแบบและเป็นของที่เกิดขึ้นในยุคแรกของเมืองโบราณแห่งนี้ ตอนแรกๆของการขุดพบพระลือหน้ามงคลและพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยมในบริเวณวัดประตูลี้ พระทั้งสองอย่างรวมทั้งพระชนิดอื่นๆที่ขุดพบนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบ เป็นเนื้อดินที่มีเม็ดแร่ กรวดทรายเล็กๆปะปนอยู่ในเนื้อดินขององค์พระ แต่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุวัดประตูลี้ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีที่ใดเหมือน
สำหรับพระลือหน้ามงคลที่ขุดได้ที่กู่เหล็กจะมีเนื้อขององค์พระที่ค่อนข้างจะละเอียด มีความแน่นของเนื้อดินและมีน้ำหนักมากกว่าอย่างที่รู้สึกเมื่อจับต้องและนำมาเปรียบเทียบกัน และพิมพ์ของพระลือหน้ามงคลทั้งสองงแห่งก็มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยบางจุดเท่านั้นแต่ภาพโดยรวมก็คล้ายคลึงกันมาก ในสมัยก่อนๆมีคำนิยามของผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงพระลือหน้ามงคลว่า “หากไม่มีพระรอดวัดมหาวัน
ให้ใช้พระลือหน้ามงคลแทนก้ได้ พุทธคุณเหมือนกัน” จากคำกล่าวนี้ทำให้ทราบว่า เรื่องพุทธคุณของพระลือหน้ามงคลนั้นไม่ได้เป็นรองพระรอดหรือพระกรุอื่นใดเลย

พระลือหน้ามงคลมีลักษณะคล้ายปลายนิ้วมือ มีขนาดใหญ่กว่าพระคงและพระบางเล็กน้อย แต่จะมีขนาดย่อมกว่าพระเปิม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน โดยส่วนใหญ่ของพระลือหน้ามงคล ด้านหลังจะอูมนูนเหมือนเม็ดขนุนหรือหลังเต่า และจะดูอูมหนากว่าด้านหลังของพระคงและพระบาง แต่ชนิดที่หลังไม่อูมหนาก็มีไม่น้อย

พิมพ์ของพระลือหน้ามงคล มีหลายพิมพ์ เช่นพระลือแผง ที่ภาษาท้องถิ่นเขาเรียก พระลือชนิดนี้ว่า”พระลือข้าวควบ” พระลือชนิดนี้จะเป็นการนำเอาพระลือหน้ามงคลเป็นองค์ๆวางเรียงกันในแผ่นของดินที่ทำเป็นแผ่นกลม
แบนๆคล้ายใบบัวติดจนแน่นแล้วนำไปเผาไฟให้สุก คงจะนำไปเป็นบัวประดับตามสถานที่สำคัญเพื่อเป็นลวดลายประดับ ภายหลังโบราณสถานนั้นปลักหักพังลงจมในดิน ผู้คนที่ขุดได้พระลือแผงชนิดนี้ มักจะนำไปตัดตกแต่งให้เข้ารูป ทำเป็นองค์ ๆ แล้วนำไปฝนให้เรียบร้อยตกแต่งให้สวยงามเข้ารูปนำไปเลี่ยมหรืออัดพลาสติก แล้วนำติดตัวไป เป็นด้วยความเชื่อมั่นในพุทธคุณ นิยมกันว่ามีพุทธคุณทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด สมกับชื่อของพระลือหน้ามงคล
ผู้เข้าชม
1237 ครั้ง
ราคา
25000
สถานะ
ยังอยู่
ชื่อร้าน
พีพีพระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
tanetbty
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ยุ้ย พลานุภาพLe29Amuletเจริญสุขว.ศิลป์สยามบ้านพระสมเด็จก้อง วัฒนา
บ้านพระหลักร้อยชา วานิชชาวานิชปลั๊ก ปทุมธานีjazzsiam amuletยอด วัดโพธิ์
TotoTatoน้ำตาลแดงkumphatermboonพีพีพระสมเด็จภูมิ IR
Nithipornep8600nattapong939digitalplusขวัญเมืองPoosuphan89
tintinfuchoo18AchitumlawyerMuthitaเทพจิระ

ผู้เข้าชมขณะนี้ 663 คน

เพิ่มข้อมูล

พระลือหน้ามงคล ลำพูน




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระลือหน้ามงคล ลำพูน
รายละเอียด
ปัจจุบันนี้ ผู้คนที่นิยมสะสมพระเครื่อง ได้หันมาให้ความสนใจในพระกรุกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพระกรุนั้นมีความงดงามทางศิลปะ รวมทั้งอายุการสร้าง ที่มีมาอย่างยาวนานและมีความเป็นมาที่น่าสนใจอันเกี่ยวโยงกับประวัติศาตร์ทางศิลปะของบ้านเมืองและการพระศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกรุของพระชุดสกุลลำพูน แม้ว่าในปัจจุบันนี้เกือบจะกลายเป็นพระกรุที่หายาก และมีราคาที่ค่อนข้างสูงแล้วก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่า เรื่องราวของพระกรุต่างๆในชุดสกุลลำพูนยังมีอีกมากที่มีผู้ให้ข้อมูลต่างๆที่ผิดไม่ตรงกับความเป็นจริง และมีอีกหลายแบบหลายอย่างที่ไม่ได้นำออกมาเสนอให้ท่านผู้อ่านและท่านที่สนใจได้รู้ได้เห็น จึงมีความตั้งใจที่จะนำเอาสิ่งเหล่านั้นออกมาเผยแพร่ให้ได้รู้ พร้อมกับคำอธิบายในรายละเอียดต่างๆให้ได้รู้และเข้าใจกันอย่างดี ในครั้งนี้จะนำเสนอเรื่องของพระกรุ ที่เรียกกันว่า “พระลือหน้ามงคล”

พระลือหน้ามงคลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “พระลือหน้ามงคลกรุวัดประตูลี้” ซึ่งรวมทั้ง “พระลือหน้ามงคลกรุกู่เหล็ก” ซึ่งบริเวณวัดทั้งสองอยู่ไม่ห่างกันมากนัก “กู่เหล็ก” เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของทุ่งกู่ล้าน ที่เคยเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันได้กลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร โรงเรียนและบ้านคนไปแล้ว วัดประตูลี้และกู่เหล็กตั้งอยู่ในโซนทิศใต้ ไม่ห่างไกลกันมากนัก ความสำคัญของวัดประตูลี้ก็คือ เป็นวัดหนึ่งในสี่ของวัดสี่มุมเมือง ที่พระนางจามเทวีได้โปรดให้สร้างขึ้น ในยุคแรก ของการเข้ามาปกครองเมืองหริภุญไชย ส่วนกู่เหล็กในเวลานั้นคงจะเป็นวัดที่อยู่ในชุมชนใหญ่ที่มี “พระยาแขนเหล็ก” นายทหารเอกของพระนางจามเทวีเป็นหัวหน้าอาศัยอยู่ วัดทั้งสองแห่งนี้จึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันเลยการขุดพบของต่างๆ ที่เป็นศิลปะวัตถุ ในที่แห่งนี้จึงมีมากมาย หลายรูปแบบและเป็นของที่เกิดขึ้นในยุคแรกของเมืองโบราณแห่งนี้ ตอนแรกๆของการขุดพบพระลือหน้ามงคลและพระเลี่ยงเล็กพิมพ์นิยมในบริเวณวัดประตูลี้ พระทั้งสองอย่างรวมทั้งพระชนิดอื่นๆที่ขุดพบนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบ เป็นเนื้อดินที่มีเม็ดแร่ กรวดทรายเล็กๆปะปนอยู่ในเนื้อดินขององค์พระ แต่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุวัดประตูลี้ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีที่ใดเหมือน
สำหรับพระลือหน้ามงคลที่ขุดได้ที่กู่เหล็กจะมีเนื้อขององค์พระที่ค่อนข้างจะละเอียด มีความแน่นของเนื้อดินและมีน้ำหนักมากกว่าอย่างที่รู้สึกเมื่อจับต้องและนำมาเปรียบเทียบกัน และพิมพ์ของพระลือหน้ามงคลทั้งสองงแห่งก็มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยบางจุดเท่านั้นแต่ภาพโดยรวมก็คล้ายคลึงกันมาก ในสมัยก่อนๆมีคำนิยามของผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองลำพูน ที่กล่าวถึงพระลือหน้ามงคลว่า “หากไม่มีพระรอดวัดมหาวัน
ให้ใช้พระลือหน้ามงคลแทนก้ได้ พุทธคุณเหมือนกัน” จากคำกล่าวนี้ทำให้ทราบว่า เรื่องพุทธคุณของพระลือหน้ามงคลนั้นไม่ได้เป็นรองพระรอดหรือพระกรุอื่นใดเลย

พระลือหน้ามงคลมีลักษณะคล้ายปลายนิ้วมือ มีขนาดใหญ่กว่าพระคงและพระบางเล็กน้อย แต่จะมีขนาดย่อมกว่าพระเปิม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน โดยส่วนใหญ่ของพระลือหน้ามงคล ด้านหลังจะอูมนูนเหมือนเม็ดขนุนหรือหลังเต่า และจะดูอูมหนากว่าด้านหลังของพระคงและพระบาง แต่ชนิดที่หลังไม่อูมหนาก็มีไม่น้อย

พิมพ์ของพระลือหน้ามงคล มีหลายพิมพ์ เช่นพระลือแผง ที่ภาษาท้องถิ่นเขาเรียก พระลือชนิดนี้ว่า”พระลือข้าวควบ” พระลือชนิดนี้จะเป็นการนำเอาพระลือหน้ามงคลเป็นองค์ๆวางเรียงกันในแผ่นของดินที่ทำเป็นแผ่นกลม
แบนๆคล้ายใบบัวติดจนแน่นแล้วนำไปเผาไฟให้สุก คงจะนำไปเป็นบัวประดับตามสถานที่สำคัญเพื่อเป็นลวดลายประดับ ภายหลังโบราณสถานนั้นปลักหักพังลงจมในดิน ผู้คนที่ขุดได้พระลือแผงชนิดนี้ มักจะนำไปตัดตกแต่งให้เข้ารูป ทำเป็นองค์ ๆ แล้วนำไปฝนให้เรียบร้อยตกแต่งให้สวยงามเข้ารูปนำไปเลี่ยมหรืออัดพลาสติก แล้วนำติดตัวไป เป็นด้วยความเชื่อมั่นในพุทธคุณ นิยมกันว่ามีพุทธคุณทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด สมกับชื่อของพระลือหน้ามงคล
ราคาปัจจุบัน
25000
จำนวนผู้เข้าชม
1238 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
พีพีพระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0894483434
ID LINE
tanetbty
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 057-1-47965-6




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี